วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

สภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น




1. สมดุลกล
1.1 สมดุลสถิต หมายถึง สมดุลของวัตถุที่หยุดนิ่ง
1.2 สมดุลจลน์ หมายถึง สมดุลของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว
2. สมดุลของแรงหลายแรง
2.1 สมดุลของแรง 2 แรง
- แรงลัพธ์ของแรงสองแรงเท่ากับศูนย์
-แรงทั้งสองมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงกันข้ามกัน
-แนวแรงทั้งสองอยู่บนเส้นตรงและระนาบเดียวกัน
2.2 สมดุลของแรง 3 แรง
- แรงลัพธ์ของแรงสามแรงมีค่าเท่ากับศูนย์

- แรงทั้งสามพบกันที่จุดๆ หนึ่งและไม่จำเป็นต้องอยู่บนระนาบเดียวกัน  อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 3 แรงและกฏเคลื่อนที่



แรงและการเคลื่อนที่ 
   1. เวกเตอร์ของแรง 
      แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้

           ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ
           1. ปริมาณเวกเตอร์ (vector quality) หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง ความเร็ว ความเร่ง โมเมนต์ โมเมนตัม น้ำหนัก เป็นต้น
           2. ปริมาณสเกลาร์ (scalar quality) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่มีทิศทาง เช่น เวลา พลังงาน ความยาว  อุณหภูมิ เวลา พื้นที่ ปริมาตร อัตราเร็ว เป็นต้น 
            การเขียนเวกเตอร์ของแรง
         
การเขียนใช้ความยาวของส่วนเส้นตรงแทนขนาดของแรง และหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรง  อ่านเพิ่มเติม

 

บทที่ 2 การเคลื่อนที่แนวตรง






  ในขณะที่รถยนต์เริ่มเคลื่อนที่บนถนนตรง  คนขับจะเหยียบคันเร่งทำให้รถเคลื่อนที่เร็วขึ้น  ถ้าสังเกตที่เข็มวัดอัตราเร็วบนหน้าปัดของรถ  จะพบว่าเข็มเบนมากขึ้น  แสดงว่ารถเคลื่อนที่ด้วย อัตราเร็ว  (speed)  เพิ่มขึ้น  และถ้าพิจารณาทิสของการเคลื่อนที่ด้วย  ความเร็ว   (velocity)  เพิ่มขึ้น


            เมื่ออ่านค่าจากเข็มชี้อัตราเร็วของรถที่กำลังเคลื่อนที่ในภาพ  ขณะนี้รถเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว  80  กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว  80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  ไปทางทิศใต้  หากความเร็วของรถเปลี่ยนแปลง  กล่าวได้ว่ารถเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง (acceleration) การเข้าใจปริมาณต่างๆที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่  จะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นในการขับขี่ยวดยานพาหนะ  และนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆได้ อ่านเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 บทนำ




หน่วยเอสไอ ( SI = Systeme International d ' Unites ) เป็นระบบหน่วยระหว่างชาติใช้วัดปริมาณทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2503 ระบบหน่วยระหว่างชาติประกอบด้วยหน่วยฐานและหน่วยอนุพันธ์
หน่วยฐาน เป็นหน่วยหลักของหน่วยเอสไอ มี 7 หน่วย
หน่วยอนุพันธ์ เป็นหน่วยที่เกิดจากหน่วยฐานหลายหน่วยรวมกัน เช่น แรง ความดัน งานพลังงานกำลัง
คำอุปสรรค ในกรณีที่หน่วยฐานหรือหน่วยอนุพันธ์มีค่ามากหรือน้อยเกินไป เราจะใช้คำอุปสรรค (prefixes) เขียนวางไว้หน้าหน่วยนั้น โดยมีหลักว่า
ใช้คำอุปสรรคครั้งเดียวโดยไม่ต้องเขียนซ้อนกัน

เมื่อใช้คำอุปสรรควางหน้าหน่วยใดแล้วเวลายกกำลังไม่ต้องใส่วงเล็บ อ่านเพิ่มเติม